สิทธิเด็ก
คุณคงได้เห็นหรืออ่านบทความเกี่ยวกับเด็กที่ว่า เด็กในวันนี้ คือผู้ใหญ่ในวันหน้า หรือ เด็กเปรียบเสมือนผ้าขาว หากเราอยากให้ผ้านั้นเป็นสีอะไร ก็อยู่ที่ผู้ใหญ่จะแต่งแต้ม แต่ทว่าเด็กบางคน เขาเกิดมาในสังคมและสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน บ้างอาจจะเกินมาในครอบครัวที่ดี บ้างอาจจะเกิดมาในสังคมที่โหดร้าย นั้นทำให้มีการเกิดสิทธิเด็ก(Right of the Child)ขึ้นมา เพราะเด็กทุกคนที่เกิดมา ต่างต้องการความรักความเอาใจใส่จากทั้งพ่อและแม่ หรือกระทั้งผู้ใหญ่ในสังคม การที่จะให้เด็กเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีประสิทธิภาพ ผู้ใหญ่ก็ต้องปฎิบัติต่อเด็กเป็นเหมือนเป็นมนุษย์ด้วยกัน ซึ่งเด็กในที่นี่ หมายถึงทุกคนที่มีอายุน้อยกว่า18ปี สิทธิเด็กนี้ต่างลงความเห็นว่าทำเรื่องนี้ให้ถูกต้องตามกฏหมาย โดยการร่วมลงรายชื่อ ว่าให้วันที่ 20 พฤศจิกายนของทุกปี เป็น ‘วันสิทธิเด็กสากล’ เพื่อให้ผู้ใหญ่ให้ความสำคัญและให้ความเคารพกับสิทธิแก่เด็กกันมากขึ้น
สิทธิเด็ก
กลุ่มของสิทธิเด็กจะแบ่งออกเป็นสองกลุ่มด้วยกัน ได้แก่
- กลุ่มสิทธิทั่วไปที่เด็กควรได้รับ
เป็นกลุ่มของเด็กตามปกติ ที่ต้องได้รับการดูแลและส่งเสริมการพัฒนาให้เป็นไปตามช่วงอายุของเด็ก และจะต้องไม่มีการเลือกปฎิบัติโดยเด็ดขาด
- กลุ่มสิทธิสำหรับกลุ่มเด็กที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
คือกลุ่มเด็กที่ถูกทารุณ ได้รับความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ รวมถึง เด็กที่เกี่ยวข้องกับการทำความผิด ซึ่งกลไกของกฏหมายกลุ่มนี้ จะให้สิทธิในการตัดสิน และช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจ ความประพฤติของเด็ก เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสเปลี่ยนมุมมองความคิดแล้วกลับมาใช้ชัวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข
กฏหมายสิทธิเด็ก มีที่มาจากอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก(Convention on the Rights of the Child) ซื่งเป็นกฏหมายระหว่างประเทศที่ได้รับกำหนดให้เป็นแบบเช่นเดียวกันหมดทั่วโลก โดยที่กำหนดเอาสิทธิพื้นฐานเอาไว้ 4 ประการ ได้แก่
- สิทธิในการมีชีวิตรอด(Right of Survival) กล่าวคือ เด็กทุกคนเมื่อเกิดมา มีสิทธิที่จะใช้ชีวิตอยู่ ไม่ว่าจะเกิดมาพร้อมกับร่างกายที่ผิดปกติหรือไม่สมบูรณ์ก็ตาม โดยที่เด็กต้องถูกพาไปจดทะเบียนตั้งแต่แรกเกิดและได้รับสิทธินี้โดยทันที รวมไปถึงสิทธิที่จะได้ถูกการเลี้ยงดูทั้งทางร่างกาย(มีสิทธิที่จะได้รับอาหารในปริมาณที่เพียงพอและสะอาด) สภาพจิตใจ ตลอดจนที่อยู่อาศัยที่ต้องให้ความปลอดภัยความปลอดภัย โภชนาการและการบริการทางการแพทย์(การได้รับสิทธิวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ)
- สิทธิได้รับการคุ้มครอง(Right of Protection) เป็นสิทธิที่เด็กจะได้รับการปกป้องคุ้มครองให้รอดพ้นจากการทารุณทุกรูปแบบ เช่น การทารุณกรรมทางกาย จิตใจ ทางเพศ และการใช้แรงงาน ที่ได้รับผลประโยชน์จากการทำงานของเด็ก ทำให้เด็กอาจขาดการเรียนรู้และที่ถูกต้อง ไม่ว่ามาจากจากพ่อ แม่ หรือไม่ว่าจะมาจากผู้ใดก็ตาม อีกทั้งสิทธินี้ยังคุ้มครองไปถึงเด็กที่หลบภัยจากอันตรายเข้ามาในประเทศของรัฐภาคี ก็ต้องได้รับการคุ้มครองด้วยเช่นกัน
- สิทธิในด้านพัฒนาการ(Right of Development) เด็กทุกคนทันทีที่เกิดมา ได้จะรับสิทธิให้ได้รับความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม ตลอดจนความพึงพอใจและความสุข การมีกิจกรรมร่วมกันกับคนในครอบครัว หรือของโรงเรียน และเด็กต้องได้รับการศึกษาที่ดี ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานครบทั้ง 12 ปี ได้รับอาหารที่มีประโยชน์ที่เหมาะสมกับวัย ได้รับการเล่นสนุก การพักผ่อน และรับรู้ข่าวสารอย่างเช่นผู้ใหญ่
- สิทธิการมีส่วนร่วม(Right of Participation) เป็นสิทธิที่ให้ความสำคัญแก่เด็กเท่าเทียมกับผู้ใหญ่ คือ เด็กมีสิทธิแสดงออกทั้งด้านความคิดและการกระทำ สามารถเรียกร้องสิทธิในการคุ้มครองผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชีวิตของตนได้ และอนุญาตให้เด็กมีส่วนร่วมให้การตัดสินใจในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องกับตนเองโดยความคิดนั้นต้องไม่กระทบกับสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่นด้วย ในกฏหมายของประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ในการสงเคราะห์คุ้มครองสวัสดิภาพและคุ้มครองการละเมิดสิทธิเด็กไว้หลายข้อ ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของเด็กตามที่กล่าวไปข้างต้น
การปกป้องคุ้มครองเด็ก กฏหมายได้ทำการกำหนดหน้าที่ของผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องเอาไว้อย่างชัดเจน ผู้ใดที่ละเมิดข้อกำหนดเหล่านี้ย่อมมีโทษทั้งทางปกครองและทางอาญา โดยผู้ปกครองต้องไม่กระทำการดังต่อไปนี้
- การทอดทิ้งเด็กไว้ในสถานที่รับเลี้ยง หรือ สถานพยาบาล หรือไว้กับบุคคลที่รับจ้างเลี้ยงเด็ก หรือ ในที่สาธารณะ หรือ สถานที่ใดๆก็ตามแต่โดยมีเจตนาที่จะไม่รับเด็กกลับคืน
- ละทิ้งเด็กไว้ในสถานที่ใดๆ โดยไม่จัดให้มีการป้องกันดูแลสวัสดิภาพ หรือ ให้การเลี้ยงดูที่เหมาะสม
- จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิต สุขอนามัยจนอาจทำให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
- ปฏิบัติต่อเด็กในแบบที่เป็นการขัดขวางการเจริญเติบโต หรือ พัฒนาการของเด็ก
- ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการเลี้ยงดูโดยมิชอบ
แนวทางการแก้ไขการละเมิดสิทธิของเด็ก หมายถึงทำให้ครอบครัวเกิดความอบอุ่นโดยการให้ความรัก การดูแลที่ดี การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมที่ดีให้กับคนในสังคม เพราะเด็กอยู่ในสังคมที่แตกต่างกัน การที่ตัวเด็กจะดีได้นั้น ก็ต้องมีผู้ใหญ่ที่เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับพวกเขาได้ ฉะนั้นแล้วผู้ใหญ่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็ก เช่น การใช้คำพูดที่อ่อนโยน ใช้หลักเหตุและผลในการพูดคุย ไม่ทอดทิ้ง ไม่ใช้อารมณ์ และพร้อมที่จะยืนเคียงข้างเด็ก ให้กำลังใจเด็กที่กำลังเจอปัญหา ไม่ใช่แค่เฉพาะพ่อแม่ แต่ควรจะเป็นผู้ใหญ่ทุกคน และคนในสังคมเองก็ควรจะช่วยเป็นหูเป็นตาให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ โดยสามารถแจ้งเบาะแสการทารุณเด็กให้กับเจ้าหน้าที่ทราบ
หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเด็ก ในปัจจุบัน มีหน่วยงานยื่นมือเข้ามาช่วยอยู่มากมาย อาธิเช่น
- มูลนิธิคุ้มครองเด็ก จัดตั้งเพื่อให้เด็กได้รับการปกป้อง คุ้มครอง ช่วยเหลือ ฟื้นฟู และพัฒนาให้เด็กไทยที่ประสบภาวะทุกข์ยาก หรือถูกทอดทิ้งในสังคม
- มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก เป็นอีกหนึ่งโครงการของมูลนิธิเด็ก ที่ได้ก่อตั้งเป็นมูลนิธิศูนย์พิทักษ์เด็ก มีวัตถุประสงค์จะช่วยเหลือ ปกป้อง คุ้มครองเด็กที่ถูกละเมิดสิทธิตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 18 ปี และคุ้มครองตั้งแต่เรื่องการถูกทำร้ายร่างกาย การถูกละเมิดทางเพศ การล่อลวงบังคับให้ค้าประเวณี การใช้แรงงานอย่างไม่เป็นธรรมไม่ถูกต้อง
- มูลนิธิปวีณา หงสกุล เป็นมูลนิธิที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ด้อยโอกาส ที่ถูกสะเมิดสิทธิ ถูกทำร้ายร่างกายในทุกรูปแบบ ไปจนถึงการช่วยฟื้นฟูร่างกายและสภาพจิตใจ
และถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีกฏหมายข้อบังคับออกมาคุ้มครองเด็กมากขึ้นแล้ว แต่บุคคลสำคัญที่มีส่วนช่วยให้เด็กเติบโตขึ้นมาเป็นพลเมืองที่ดีของชาติได้นั้น มีจุดเริ่มต้นอยู่ที่ครอบครัวนะคะ
เครดิต : https://www.unicef.or.th/supportus/th
No comments:
Post a Comment